โครงการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนในชนบท
โดยการส่งนิสิตนักศึกษาออกไปเผยแพร่ความรู้กับประชาชนในชนบททั่วประเทศ ตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การใช้สิทธิในการเรียกร้องตามกระบวนการประชาธิปไตยที่ถูกต้อง
เนื่องด้วยโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ประกอบด้วย ๕ โรงเรียนซึ่งมีที่ตั้งแยกจากกันสภากรรมการจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ จึงได้ประชุมตกลงกันในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ว่าจะสร้างตึกบัญชาการขึ้น เป็นแบบไทย โดยมอบหมายให้ ดร.คาร์ล โดห์ริง (Dr. Karl Dohring) นายช่างของกระทรวงมหาดไทย และมร.เอ็ดเวิร์ด ฮีลี (Mr. Edward Healey) นายช่างของกระทรวงธรรมการ ไปศึกษาแบบที่สุโขทัยและสวรรคโลก มาคิดเป็นแบบของตึกบัญชาการ ซึ่งจะสร้างขึ้นระหว่างถนนสนามม้ากับถนนพญาไท และในที่สุดสภาได้เลือกแบบของ มร.เอ็ดเวิร์ด ฮีลี
ในเวลาใกล้เคียงกันนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเห็นสมควรที่จะขยายโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกนาถผู้ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๑ หากยังมีเหตุติดขัดอยู่ในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วตึกบัญชาการนี้จึงกลายเป็นตึกบัญชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต่อมาตึกบัญชาการนี้ใช้เป็นสำนักงานบริหารและเป็นอาคารเรียนของคณะอักษรศาสตร์ และเปลี่ยนชื่อเป็น “ตึกอักษรศาสตร์ ๑” ปัจจุบันตึกบัญชาการได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “อาคารมหาจุฬาลงกรณ์” และกิจกรรมหลักที่จัดในอาคารนี้ คือ เป็นสถานที่จัดประชุม สัมมนา และรับรองอาคันตุกะของมหาวิทยาลัย