๔ คณะเริ่มแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นิสิตจุฬาฯ จำนวน ๒๙๘ คน ได้ตัดสินใจสมัครเข้ารับใช้ประเทศชาติเพื่อช่วยเหลือขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น ด้วยการอาสาเข้าเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร (นร.สห.) ตามความต้องการของทางราชการ มีหลักสูตรการเรียนหนึ่งปี สำเร็จแล้วแต่งตั้งให้เป็นนายร้อยตรีทหาร ทำหน้าที่ควบคุมรักษาสถานการณ์ความสงบภายในประเทศ อันมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอิสรภาพและนำสันติมาสู่ประเทศไทยในเวลาต่อมา ภายหลังเมื่อสงครามสงบและ
ปลดประจำการแล้ว นิสิตจุฬาฯ กลุ่มนี้ยังได้รวมกันต่อมาเป็นชมรมนักเรียนนายทหารสารวัตร ๒๔๘๘ หรือในนามย่อ นร.สห. ๒๔๘๘ เนื่องด้วยภารกิจดังกล่าวควรแก่การจารึกเพื่อเชิดชูเกียรติประวัติของนิสิตกลุ่มนี้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้สร้างอนุสรณ์สถาน นร.สห.ขึ้นซึ่งมีพิธีเปิดในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๘
ธุลีกองละอองดินหินก้อนนี้ แทนจงรักภักดีพลีชีพให้
แด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมจอมไผท แด่ชาติไทยแด่แผ่นดินถิ่นธรณี
เมื่อยามเรียนก็พากเพียรเพื่อความรู้ ชาติต้องการรวมกันสู้ไม่หลีกหนี
อุทิศได้แม้เลือดเนื้อแม้ชีวี เพื่อปกป้องปฐพีพี่น้องไทย
นี่คืออุดมการณ์อันหาญกล้า นี่คือค่าชีวีที่พลีให้
นี่คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันที่สอนให้ใจทะนง
หินก้อนนี้คือวจีที่ประกาศ ความมุ่งมาดมุ่งมั่นอันสูงส่ง
เอกราชของชาติไทยต้องดำรง อยู่ยืนยงคงสถิตนิจนิรันดร์ร.ต.สำเร็จ บุนนาค ประพันธ์ในนาม นร.สห.๒๔๘๘