อุดมการณ์เพื่อมวลชน
๕๙

อุดมการณ์เพื่อมวลชน

ในระยะหลัง พ.ศ.๒๔๙๒ ได้เกิดกระแสความสนใจแนวคิดสังคมนิยมเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางความคิดในเรื่องการมีสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนการสร้างความเป็นธรรมในสังคม นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลายคนในระยะนั้นได้เข้ามามีบทบาททางด้านนี้ ที่เด่นมากเช่น จิตร ภูมิศักดิ์

จิตร ภูมิศักดิ์ เข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย เป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน ยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจเหนือประชาชนมาโดยตลอด จนเป็นที่ยอมรับและนับได้ว่าเป็นปัญญาชนคนสำคัญที่มีผู้รู้จักมากคนหนึ่งของสมัยปัจจุบัน

เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์ สักพันชาติจักสู้ด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน จะน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน

จิตร ภูมิศักดิ์

กลับหน้าหลัก
วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

๙๙
โรงเรียนมหาดเล็กกับการกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงเรียนมหาดเล็กกับการกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรงเห็นข้อดีของการที่ข้าราชการควรจะเป็นผู้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรู้จักและไว้วางพระราชหฤทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยที่จะออกไปประจำการตามมณฑลต่างๆ

คอมพิวเตอร์ยุคแรกเริ่ม

คอมพิวเตอร์ยุคแรกเริ่ม

เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดตั้ง “หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์” (Computer Science) ขึ้นในบัณฑิตวิทยาลัยตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๒

๕๐