โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๑ – ๒๔๘๙ นิสิตที่จะเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องเข้ามาศึกษาที่โรงเรียนแห่งนี้ก่อน
สืบเนื่องจากพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานการกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งผลให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมแก่สังคมมาตั้งแต่ต้น ซึ่งต่อมาได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ นับตั้งแต่ฉบับที่ ๓ ซึ่งมีประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา เพราะรัฐบาลพบปัญหาว่าความเสมอภาคทางการศึกษายังอยู่ในวงจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
กลุ่มเยาวชนในชนบท ด้วยเหตุนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงมีโครงการคัดเลือกผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วยวิธีพิเศษสำหรับเยาวชนในชนบทหลายโครงการ อาทิ
ในส่วนของการขยายโอกาสทางการศึกษาสู่ชนบทนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่เพียงแต่เปิดช่องทางให้เยาวชนในชนบทเข้ามาศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น หากแต่ยังสนับสนุนให้อาจารย์และนิสิตได้มีโอกาสออกไปสัมผัสวิถีชีวิตและปัญหาของคนในชนบท เพื่อจะได้ทราบปัญหาและสามารถใช้ความรู้ที่ทันสมัยมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบทให้ดีขึ้นด้วย อาทิ
นอกจากการมีโครงการพิเศษสำหรับนักเรียนในชนบทแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีโครงการพิเศษอีกประเภทหนึ่งเพื่อสนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่อจะได้สามารถนำศักยภาพโดดเด่นที่มีอยู่นี้ไปสร้างประโยชน์แก่สังคมอย่างเหมาะสมต่อไป
โครงการคัดเลือกผู้มีความสามารถพิเศษเฉพาะทางเหล่านี้มีหลายโครงการ อาทิ