หอสมุดดนตรีไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๙๖

หอสมุดดนตรีไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอสมุดดนตรีไทยเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดสร้างขึ้นเพื่อรองรับพันธกิจในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ และสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการทำนุบำรุงรักษา รวมทั้งอนุรักษ์วิชาการทางด้านดนตรีไทยอันเป็นสมบัติทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นเอกราชของชาติไทย โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการเก็บข้อมูลทางดนตรีให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงการอนุรักษ์และการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการดนตรีไทย ในห้องสมุดดังกล่าวเป็นข้อมูลทางดนตรีไทยที่หาฟังได้ยากในปัจจุบัน ประกอบด้วย ข้อมูลเสียงประเภทเพลงเรื่อง ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ข้อมูลเสียงจากวงเครื่องสายผสมที่ได้รับความนิยมในช่วง ๕๐ปี ที่ผ่านมา ข้อมูลเสียงจากกรมศิลปากร ข้อมูลเสียงและภาพจากโครงการบันทึกข้อมูลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๖ จนถึงปัจจุบัน ที่นำเอาคณะดนตรีไทยจากหน่วยราชการ องค์กร สำนักดนตรีที่สืบทอดทางบรรเลงดนตรีจากครูดนตรีผู้มีฝีมือในอดีตมาบรรเลง บันทึกเสียงและภาพ ในความควบคุมของอาจารย์ประสิทธิ์ ถาวร ศิลปินแห่งชาติและศิลปินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งข้อมูลภาพและเสียงกิจกรรมทางดนตรีไทยที่มีความสำคัญทางวิชาการและประวัติศาสตร์ อาทิ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงดนตรีในรายการแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และรายการอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น การแสดงดนตรีไทยของศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิในรายการจุฬาวาทิตกิตติมศักดิ์ การแสดงดนตรีนาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน ในรายการแสดงจุฬาวาทิต ณ เรือนไทยจุฬาฯ เป็นต้น โดยนำข้อมูลดังกล่าวจัดเก็บเป็นข้อมูลระบบดิจิตอลความยาวประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ นาที หรือ ๘,๐๐๐ เพลง รวมทั้งจัดทำโปรแกรมระบบสืบค้นและให้บริการในลักษณะของห้องสมุดมัลติมีเดียทางดนตรีไทยเป็นแห่งแรกที่รวบรวมข้อมูลเพลงไทยที่หาฟังยากไว้มากที่สุดในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๙ หอสมุดดนตรีไทย เริ่มเปิดให้บริการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดส่วนบริการห้องสมุดดนตรีไทย ณ บริเวณชั้น ๓ ศูนย์วิทยทรัพยากร ในอาคารมหาธีรราชานุสรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๔ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ที่อาคารศิลปวัฒนธรรม จึงได้ใช้พื้นที่บริเวณชั้น ๓ ของอาคารศิลปวัฒนธรรม จัดตั้งเป็นหอสมุดดนตรีไทยที่ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

กลับหน้าหลัก
หลักเฉลิมแห่งพระนคร

หลักเฉลิมแห่งพระนคร

ซึ่งหมายถึงจะต้องเป็นหลักให้แก่ประเทศชาติได้ ทั้งในด้านการเป็นแหล่งศึกษาศิลปวิทยาการขั้นสูง และการเป็นแหล่งผลิตบุคคลออกไปรับใช้ประเทศชาติ ทั้งยังเป็นหลักอันแสดงความมีอารยะของสยามประเทศ ที่สะท้อนความเป็นชาติที่มีพัฒนาการก้าวไปตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก

การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน รากฐานการกำเนิดจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน รากฐานการกำเนิดจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

สร้างจุฬาฯ คือสร้างปัญญาชน

สภานิสิตรุ่นแรก เมื่อ “ประชาธิปไตยเบ่งบาน”

สภานิสิตรุ่นแรก เมื่อ “ประชาธิปไตยเบ่งบาน”

กระแสประชาธิปไตยเบ่งบานหลังกรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานของนิสิตด้วยโดยเปลี่ยนจากระบบสโมสรแบบเดิม

๓๑