อุทยานจุฬาฯ 100 ปี

ของขวัญอันยิ่งใหญ่ให้สังคม

ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ เร่งพัฒนาที่ดินเพิ่มพื้นที่ แนวแกนสีเขียว ในเขตพาณิชย์ของมหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างความสุขแก่ชุมชน และเชื่อมโยงชุมชนโดยรอบให้เข้าถึงกัน โดยพัฒนาสภาพแวดล้อมที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงพื้นที่ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์หลายรูปแบบ ตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Smart inclusive society / Digital / Food Security / Aging โดยใช้ Smart inclusive society หนึ่งในแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จุฬาฯ มาใช้เป็นแนวการพัฒนาอุทยานจุฬาฯ ๑๐๐ ปี

บนพื้นที่ สวนหลวง - สามย่าน

สวนสาธารณะระดับ Community Park ปลูกพืชพื้นถิ่นบนพื้นที่ ๒๘ ไร่ ตามแนวคิด "ป่าในเมือง"


ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง มีแนวพื้นที่รับน้ำ (Rain Garden) และระบบระบายน้ำใต้ดิน


ถนนสีเขียว (ซ.จุฬาฯ ๕ เดิม) ยาวเชื่อมถนนพระราม ๑ - ถนนพระราม ๔ ขยายช่องทางเดินรถ เพิ่มเลนจักรยาน พื้นที่อเนกประสงค์ และที่จอดรถ ๒๐๐ คัน

แนวคิดในการสร้าง

Green the Urban Environment

LIVING

การมีชีวิตที่ทันสมัยที่มิใช่เพียงแค่เทคโนโลยี แต่เป็นการใช้ชีวิตที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่สุขภาพดี มีพื้นที่ออกกำลังกายและกิจกรรมที่ร่วมกันส่งเสริมสุขภาพชุมชน สภาพแวดล้อมที่มลภาวะน้อยลง


LEARNING

เกิดสังคมที่เป็นศูนย์ของความรู้ทั้งจากคณาจารย์และนิสิตสู่ชุมชน และความรู้จากวิถีชีวิตและประสบการณ์ของชุมชนสู่คณาจารย์และนิสิต เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน

อุทยานมีพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของสังคม นักเรียน นิสิตนักศึกษา และชุมชนในเรื่องพันธุ์ไม้ การปลูกต้นไม้เมือง การเป็นแหล่งพื้นที่รับน้ำและระบบน้ำหมุนเวียน

เป็นศูนย์รวมการออกมาทำกิจกรรมของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร และชุมชนที่มาเพื่อเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับการละเล่น


LIFE STYLE

วิถีชีวิตชุมชนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดวัฒนธรรมของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่เร่งรีบมีศิลปะในการดำเนินชีวิต

เกิดกลุ่มชุมชนที่สนใจสุขภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ในศตวรรษใหม่นี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ยังคงยึดมั่นพันธกิจในการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็น “หลักเฉลิมพระนคร” พร้อมกับมุ่งมั่นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับนานาชาติที่ยั่งยืน โดยสำนักงานฯ จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลที่ดินพระราชทานส่วนที่เป็นเขตพาณิชย์ ให้เกิดทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และสามารถสร้างบัณฑิตและองค์ความรู้ใหม่เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

ภาพจำลอง อุทยานจุฬาฯ ๑๐๐ ปี